ส่องทิศทางเศรษฐกิจไทย GDP ปี 67 อาจเหลือแค่ 2.6% ตามโมเมนตัม

0 0
Read Time:4 Minute, 30 Second

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ประเมินเศรษฐกิจไทย หลังจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้เปิดตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2566 ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 1.7% และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหดตัวที่ -0.6% สะท้อนโมเมนตัมเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแรงลง

สำหรับปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยลงมาอยู่ที่ 2.6% จาก 3.1% ตามโมเมนตัมเศรษฐกิจที่ชะลอลง ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2567 คาดว่าจะทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ถึงแม้ว่ายังไม่มีการอนุมัติงบประมาณปี 2567 แต่มีความเป็นไปได้ที่ภาครัฐจะเร่งเบิกจ่าย ขณะที่การส่งออกไทยก็คาดว่าจะทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้าตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น

“ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)” ประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ของปี 2567 จะยังมีแรงสนับสนุนต่อเนื่อง จากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดี ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่เร่งตัวจากนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ที่ได้อานิสงส์จากเทศกาลตรุษจีน รวมถึงนักท่องเที่ยวหลายประเทศกลับมาใกล้เคียงระดับปกติ ซึ่งในปี 2567 นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยแล้วกว่า 4.39 ล้านคน สามารถสร้างรายได้ท่องเที่ยว 2.15 แสนล้านบาท

ตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งกลับไปเท่าระดับก่อนวิกฤติโควิด รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น มาตรการลดค่าครองชีพ โดยเฉพาะราคาพลังงาน และโครงการ Easy e-receipt กระตุ้นการใช้จ่ายช่วงต้นปี

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีแรงหนุนจากการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับการผลิตบางอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัว เช่น อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยในไตรมาสนี้ จากการประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2567 ที่ล่าช้า

ทำให้แรงส่งในการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐมีแนวโน้มซบเซาในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 กดดันการอุปโภคและลงทุนภาครัฐ ตลอดจนความไม่แน่นอนจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความเสี่ยงใหม่ในตะวันออกกลางที่อาจกระทบการขนส่งทางทะเลและทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกชะงักขึ้นได้อีก

มองภาพรวมในปี 2567 เศรษฐกิจไทยยังน่าห่วงและฟื้นตัวได้ช้า SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนตามการฟื้นตัวของภาคบริการจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และการท่องเที่ยวในประเทศที่ยังเติบโตดี

การลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการอนุมัติการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) และการส่งออกที่ฟื้นตัวจากแนวโน้มการค้าโลกที่ขยายตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการค้าโลก อย่างไรก็ดี ต้องจับตาความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทานโลกจากเหตุการณ์การโจมตีของกบฏฮูตีและความแห้งแล้งของคลองปานามาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ปัจจัยสำคัญกดดันให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าในปีนี้ มาจากการลงทุนของภาครัฐที่มีแนวโน้มหดตัวตามความล่าช้าในการประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 ส่งผลให้แรงสนับสนุนเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มจำกัดในช่วงครึ่งแรกของปี แม้จะสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายได้มากขึ้นหลัง พ.ร.บ.งบประมาณ 2567 ประกาศใช้ในช่วงกลางเดือนเมษายน แต่จะไม่สามารถเร่งรัดเบิกจ่ายได้เต็มที่ภายใต้ช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณนี้ อีกทั้งภาครัฐยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณมากขึ้นจากหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงหลังวิกฤติโควิด

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยด้านการผลิตยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรม หลายสาขายังหดตัวต่อเนื่องและยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน

มองไปข้างหน้า การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ได้แก่ 1.เศรษฐกิจจีนชะลอลงจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่จะกระทบการส่งออกของไทยและการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาไทย 2.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกที่อาจรุนแรงขึ้นจากการโจมตีเรือขนส่งสินค้าของกบฏฮูตีในทะเลแดง ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าจากเอเชียไปยังยุโรป อาจส่งผลให้ระยะเวลาและต้นทุนค่าขนส่งทางเรือจากไทยไปยังยุโรปสูงขึ้นมาก 3.รายได้ครัวเรือนฟื้นช้า ไม่ทั่วถึง และมีภาระหนี้สูง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและธุรกิจขนาดเล็กที่มีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่มาก 4. ภาคการผลิตอุตสาหกรรมหลายสาขาฟื้นตัวช้า จากต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้นและการแข่งขันกับสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ 5.วิกฤติภัยแล้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเกษตรปรับลดลง

“ศูนย์วิจัยกรุงไทย คอมพาส (Krungthai COMPASS)” ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2566 โตอย่างจำกัดที่ 1.7% เมื่อเทียบรายไตรมาสหดตัว 0.6% จากแรงฉุดของการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่หดตัวลงเป็นหลัก ขณะที่ทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 1.9% ชะลอลงจาก 2.5% ในปี 2565 สอดคล้องกับมุมมองของ Krungthai COMPASS ที่ประเมินว่าจีดีพีไตรมาส 4 จะขยายตัว 1.9% ส่วนทั้งปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 1.9%

สำหรับในปี 2567 สภาพัฒน์ได้ปรับประมาณการเติบโตของจีดีพีลงมาในกรอบ 2.2-3.2% (ค่ากลางที่ 2.7%) ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของ Krungthai COMPASS ที่มองว่าจีดีพีปีหน้าจะฟื้นตัวอย่างอ่อนแอที่ 2.7% ทั้งนี้ สภาพัฒน์ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่อง จากแรงหนุนของการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยว และการกลับมาขยายตัวของภาคการส่งออก แต่ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และการลดลงของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง

Krungthai COMPASS มีข้อแนะนำภาคธุรกิจเพิ่มเติมให้เตรียมรับมือกับการรีเซตเครื่องยนต์หลักทั้งสหรัฐ และจีนที่อาจดับลงพร้อมกัน จากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐ และสงครามการค้าครั้งใหม่ รวมถึงการรีเซตเศรษฐกิจโลกภายใต้ภาวะการเงินตึงตัวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
Previous Article
Next Article